ขาวดง / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย John Lindley (1799-1865) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ตีพิมพ์ที่ Genera and Species of Orchidaceous Plants เมืองลอนดอน ในปี 1840 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 10 เซนติเมตร เหง้าสีขาว มีข้อปล้อง ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ใบเรียงสลับ รูปใบหอกแคบแกมรูปรี กว้าง 1.5-1.9 เซนติเมตร ยาว 5.9 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม พับจีบ โคนแผ่หุ้มรอบลำต้น ช่อดอกแบบช่อกระจะแนน ออกที่ปลายลำต้น ดอกกระจุกที่ปลายช่อ ก้านช่อดอกตั้งตรง ยาว 2.3-4.5 เซนติเมตร แกนช่อดอกยาว 5-7 มิลลิเมตร มีช่อเเน่น มี 7-12 ดอก ใบประดับย่อยรูปใบหอก กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ยาว 2-6 มิลลิเมตร ปลายแหลม ดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 มิลลิเมตร สีขาวแกมเขียวไม่พลิกกลับ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ด้านนอกกลีบมีสันนูนชัดเจน กลีบเลี้ยงด้านบนรูปรี กว้าง 1.8-3.1 มิลลิเมตร ยาว 6-8.3 มิลลิเมตร ปลายแหลม กลีบเลี้ยงด้านข้างรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2.1-2.8 มิลลิเมตร ยาว 5.8-10 มิลลิเมตร โคนเชื่อมกันเป็นถุง กลีบดอกรูปใบหอกกลับ กว้าง 1-2.6 มิลลิเมตร ยาว 4-7.8 มิลลิเมตร กลีบปากโค้งลง รูปขอบขนาน กว้าง 2.5-4.8 มิลลิเมตร ยาว 2.5-5 มิลลิเมตร ขอบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายเรียวแหลม ด้านข้างมีสัน เส้าเกสรยาว 2.6-4.5 มิลลิเมตร ฝาปิดกลุ่มเรณูรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร กลุ่มเรณูแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ทรงรูปรี ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-0.7 มิลลิเมตร ก้านดอกและรังไข่สีเขียว ยาว 2-5.8 มิลลิเมตร ฝักทรงรูปไข่ ยาว 1-1.3 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร สันนูนชัดเจน การกระจายพันธุ์: อินเดีย, สิกขิม, จีน, ไทย, มาเลเซีย และไต้หวัน นิเวศวิทยา: พบบริเวณป่าดิบเขาต่ำ และป่าดิบชื้น ที่ความสูง 400-877 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกเดือนสิงหาคม ติดฝักเดือนตุลาคม ข้อมูลชีววิทยาอื่น ๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: กรกช ดวงดี. 2554. ความหลากหลายของกล้วยไม้ตามเส้นทางขึ้นยอดภูกระดึง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Tropidia curculigoides Lindl.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง